"ซูเปอร์บลูบลัดมูน" ของ จันทรุปราคา_มกราคม_พ.ศ._2561

ปรากฎการณ์นี้เป็น "ซูเปอร์มูน" (Super Moon) ด้วยความที่ดวงจันทร์อยู่ใกล้ระยะทางที่ใกล้ที่สุดจากโลกในวงโคจรทำให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางกว้างขึ้น 7% หรือมีพื้นที่ใหญ่ขึ้น 14% เมื่อเทียบกับขนาดเฉลี่ยของดวงจันทร์ จันทรุปราคาซูเปอร์มูนครั้งก่อนเกิดขึ้นเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.​ 2558[7]

พระจันทร์เต็มดวงของวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.​ 2561 เป็นพระจันทร์เต็มดวงครั้งที่สองของเดือน (ในเขตเวลาส่วนใหญ่) ทำให้เรียกได้ว่าเป็น "บลูมูน"

นอกจากนี้ด้วยความที่มีสีส้มหรือสีแดง "เลือด" ระหว่างที่เกิดจันทรุปราคา สื่อจึงมักเรียกเหตุการณ์นี้ว่าเป็น "ซูเปอร์บลูบลัดมูน"

แหล่งที่มา

WikiPedia: จันทรุปราคา_มกราคม_พ.ศ._2561 http://eclipse.gsfc.nasa.gov/LEcat5/LE2001-2100.ht... http://eclipse.gsfc.nasa.gov/LEcat5/appearance.htm... http://eclipse.gsfc.nasa.gov/LEplot/LEplot2001/LE2... http://earthsky.org/tonight/super-blue-moon-eclips... http://www.hermit.org/eclipse/2018-01-31/ https://news.nationalgeographic.com/2018/01/super-... https://www.space.com/39241-first-blue-moon-total-... https://www.space.com/39532-super-blue-blood-moon-... https://www.nasa.gov/feature/super-blue-blood-moon...